แก้ไขล่าสุด วันที่ 20th August, 2023 at 08:58 am

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ จึงได้แนะนำพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือบุคคลในครอบครัว ควรปฏิบัติตัวผู้เสพดังนี้
1. คุยบอกกล่าวถึงอันตรายและผลที่จะเกิดจากการใช้ยา
2. ระมัดระวังตนเอง
3. หมั่นสังเกตพฤติกรรมผู้เสพ
4. หากพบมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อหาทางช่วยเหลือ
5. รีบพาไปปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
โดยสามารถขอรับคำปรึกษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือเข้ารับการบำบัดได้ที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น อุดรธานี สงขลาและปัตตานี
นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวเพิ่มเติมว่า สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) เป็นหน่วยงานหลัก ของกรมการแพทย์ ที่ให้การบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติด ซึ่งกระบวนการบำบัดรักษาไม่ได้ยุ่งยากหรือน่ากลัวอย่างที่หลายคนเข้าใจ ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยาและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอน ซึ่งการบำบัดรักษามี 2 รูปแบบ คือ
– แบบผู้ป่วยนอก รักษาในรูปแบบกาย จิต สังคมบำบัดแบบไปกลับ ใช้กระบวนการรักษาทางกาย การปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม
– แบบผู้ป่วยใน เน้นกระบวนการบำบัดให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจให้เข้มแข็ง มีครอบครัวเป็นหลักสำคัญ
ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบจะได้รับการดูแลจากแพทย์และทีมสหวิชาชีพ ให้การบำบัดรักษาอาการขาดยา รวมถึงภาวะแทรกซ้อนทางกาย ทางจิต โดยการให้ยาจนอาการดีขึ้นและให้การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้การใช้กระบวนการทางจิตวิทยาในการแก้ไขปัญหา การเสริมสร้างพลังใจให้เข้มแข็ง รู้จักหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธยาเสพติด รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เจตคติในการเลิกเสพยาเสพติดได้ ใช้เวลาในการบำบัดรักษาอย่างน้อย 3 – 4 เดือน และติดตามดูแลช่วยเหลือหลังผ่านการบำบัดประมาณ 1 ปี เพื่อไม่ให้กลับไปเสพซ้ำอีก
source: pptvhd36.com